ผลสำรวจชี้! เสพติด "เฟซบุ๊ก" ทำให้จิตหดหู่-มีความสุขน้อยลง

ผลสำรวจชี้! เสพติด "เฟซบุ๊ก" ทำให้จิตหดหู่-มีความสุขน้อยลง

ผลสำรวจชี้! เสพติด "เฟซบุ๊ก" ทำให้จิตหดหู่-มีความสุขน้อยลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook



ผลสำรวจประชาชนวัยผู้ใหญ่ในสหราชอาณาจักรพบว่า กว่า 6.9 ล้านคนมีความรู้สึกหดหู่ จากการเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับเพื่อนในโลกออนไลน์ โดยกว่าครึ่งหนึ่งหรือราวร้อยละ 56 ของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้รับผลกระทบทางจิตใจหลังการใช้โซเชียลมีเดียยอดนิยม จากการเห็นข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ที่เพื่อนในโลกออนไลน์โพสต์ผ่านสื่อ

การสำรวจยังพบว่า ร้อยละ 18 ของผู้ใช้จะโพสต์รูปภาพเฉพาะที่พวกเขาคิดว่าดูดี ร้อยละ 7 โพสต์รูปภาพเฉพาะที่ผ่านการตกแต่งด้วยแอพพลิเคชันหรือฟิลเตอร์ของสมาร์ทโฟน ร้อยละ 10 จะรู้สึกแย่และอับอายหากสิ่งที่โพสต์ไม่ได้รับการตอบสนองแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งการกดไลค์ รีทวีต แชร์ต่อ หรือแสดงความเห็น และร้อยละ 8 จะรีบลบโพสต์ที่ไม่มีใครสนใจนั้นออก ซึ่งผู้ใช้อายุตั้งแต่ 18-34 ปีจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

ในกลุ่มอายุนี้ยังมีร้อยละ 8 ที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือโดนไล่ออกจากงานหลังการโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 23 มีการตอบโต้กับผู้ที่แสดงความเห็นไม่ถูกใจ และร้อยละ 17 แสดงความเห็นที่พวกเขาต้องมารู้สึกเสียใจในภายหลัง ร้อยละ 36 จำต้องกดไลค์โพสต์ของเพื่อนตนเสมอ และ 1 ใน 4 ของผู้ใหญ่จะรู้สึกว่าพวกเขาจำเป็นต้องอวยพรวันเกิดเพื่อนผ่านทางสื่อออนไลน์แม้ว่าจะอวยพรกับเจ้าตัวโดยตรงไปแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ร้อยละ 22 ยังรู้สึกว่าจำเป็นต้องตอบรับการขอเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊กของเพื่อนร่วมรุ่น และจะฟอลโลว์กลับกรณีเป็นทวิตเตอร์ ขณะผู้ใช้ที่เป็นผู้ใหญ่เกินครึ่งจะติดตามเพื่อนเก่า เพื่อนสมัยเรียนและแฟนเก่าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อีกร้อยละ 25 จะมองหาคนที่พวกเขาสนใจ ร้อยละ 17 จะคอยติดตามดูความเคลื่อนไหวของเพื่อน และร้อยละ 13 จะมองหาเรื่องราวอื้อฉาวในอินเตอร์เน็ตมาพูดคุย

ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวโดย Privilege Home Insurance ยังระบุด้วยว่า ชาวอังกฤษกว่า 3.4 ล้านรายใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ทำให้ผู้คนเริ่มห่างเหินจากสังคมในโลกความเป็นจริงมากขึ้น และเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวออกไปสู่สาธารณะโดยไม่รู้ตัว

ที่สำคัญทำให้ผู้คนยึดติดกับการเป็นที่ยอมรับในโลกออนไลน์จากยอดไลค์ เกิดการเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับชีวิตที่ดูสวยหรูของผู้คนในโลกออนไลน์ จึงทำให้จิตใจหดหู่ มีรู้สึกความพึงพอใจในตัวเองลดลง และมีความสุขน้อยลงไปได้


ขอขอบคุณ : metro.co.uk

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook